เมนู

กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์.
จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้
เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์.
ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า
อุเบกขาสัมโพชฌงค์.

โพชฌงค์ 7 นัยที่ 2


[544] โพชฌงค์ 7 คือ
1. สติสัมโพชฌงค์
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
3. วิริยสัมโพชฌงค์
4. ปีติสัมโพชฌงค์
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
6. สมาธิสัมโพชฌงค์
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
[545] ในโพชฌงค์ 7 นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน ?
สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอก มีอยู่ สติในธรรม
ภายในแม้ใด สติในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็น
ไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด
สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.